วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเพณีจังหวัดเพรชบุรี

งานประเพณีไทยทรงดำ จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี งานประเพณีไทยทรงดำของชาวลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย เป็นประเพณีการทำบุญในงานจะมีการจัดการละเล่น และการทำอาหารแบบดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำ
งานประเพณีข้าวห่อกระเหรี่ยงจัดขึ้นเป็นประจำช่วงขึ้น14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี  เป็นงานประเพณีที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกระเหรี่ยง ซี่งยังคงอาศัยอยู่ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง
งานพระนครคีรี เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี โดย เฉพาะพระนครคีรีและมรดกศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มีสืบมาจนถึง ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่สิ่งดีงามต่าง ๆ ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่ง ขึ้น ทางจังหวัดจึงจัดงานพระนครคีรี-เมืองเพชร ขึ้นเป็นประจำ ในราว เดือนกุมภาพันธ์ กิจกรรมในงานได้แก่ ขบวนแห่พยุหยาตราบุรพกษัตริย์ที่เคยครองเมือง เพชรบุรีในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย นิทรรศการประวัติศาสตร์และ โบราณคดีเมืองเพชรบุรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สาธิตการปรุง อาหารคาวหวาน อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี การแสดงแสงเสียง ที่บริเวณพระนครคีรี การประกวดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟ ประกวดวัวงาม และ ประกวดผลไม้ การแข่งขันฟันอ้อย การเล่นวัวลาน การเห่เรือนก
การวิ่งวัวลานคนเป็นการแข่งขันที่ดัดแปลงมาจากกีฬาวัวลาน โดยใช้คนวิ่งแทนวัว มีกติกา เหมือนกันทุกประการ ไม่แต่เฉพาะชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น มีผู้คนท้อง ถิ่นต่างๆ เดินทางมาร่วมแข่งขันด้วยจึงเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และมี เพียงแห่งเดียวที่จังหวัดเพชรบุรี แต่มีกำหนดการเล่นที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่ กับว่าท้องที่ใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งบางครั้งก็จัดขึ้นในช่วงสงกรานต์
ประเพณีเล่นเพลงปรบไก่ขอฝนเป็นกาลละเล่นของชาวบ้านตำบลลาดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด เป็นการบวง สรวงศาลหลวงปู่เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โดยจะเล่นกันในวันเพ็ญเดือน 6 ลักษณะการเล่นเพลงปรบไก่นี้ จะมีพ่อเพลงแม่เพลงแต่งกายพื้นบ้านสีสดใส หลังจากพิธีกรรมต่าง ๆ รวมถึงการไหว้ครูแล้ว ทั้งฝ่ายชายและฝ่าย หญิงจะสลับกันร้องและร่ายรำอยู่กลางวง ท่าร่ายรำของฝ่ายชายปัดไปปัด มาคล้ายกับอาการป้อของไก่ตัวผู้ อาจเป็นเพราะลักษณะนี้จึงเรียกว่าเพลงปรบไก่ บทเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทเกี้ยวพาราสีกันและเล่นเป็นเรื่อง 2 เรื่องคือ ไกรทอง และสุวิญชา
ประเพณีวัวลานหรือวัวระดอก
การเล่นวัวลานมีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าวเพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลม วิธีการนวดข้าวนั้น วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามากเพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้น แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมาก ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่าจึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดี ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงคิดการเล่นวัวลานขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานประกวดว่าวัวของใครจะมีฝีเท้าและกำลังดีกว่ากัน และยังมีผลต่อการค้าขายวัวใช้งานอีกด้วยเพราะวัวที่ชนะการเล่นวัวลานจะมีผู้สนใจซื้อในราคาสูง
วัวเทียมเกวียน
เมืองเพชรบุรีได้จัดให้มีการประกวดวัวเทียมเกวียนขึ้นทุก ๆ ปี ในช่วงของการจัดงานพระนครคีรี - เมืองเพชร เพื่ออนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านและสืบทอดประเพณี ชาวบ้านนิยมนำวัวมาประกวดเพราะมีความหมายว่า วัวที่มีความสมบูรณ์จะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เป็นเจ้าของ ลักษณะการประกวดวัวเทียมเกวียนจะประกวดครั้งละ 1 คู่ กล่าวคือ วัวจำนวน 2 ตัวต่อเกวียน 1 เล่ม หรืออาจจะประกวดทั้งสองคู่ก็มี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเดินของวัวในระหว่างที่เดินประกวดจะมีเสาหลักปักไว้เป็นคู่ ๆ วัวเทียมเกวียนจะต้องเดินให้ครบ 3 รอบ และห้ามวัวเดินชนเสาหลัก ในระหว่างที่เดินอาจจะมีดนตรีบรรเลงเพื่อความสนุกสนานด้วย
ละครชาตรี
เป็นละครรำที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับวัฒนธรรมจากละครของอินเดีย เข้ามาสู่เมืองเพชรบุรี ตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีเพียงประวัติว่า หม่อมเมืองซึ่งเป็นหม่อมในรัชกาลที่ 5 เป็นคนเพชรบุรี ด้วยเป็น ผู้มีความสามารถในการละเล่นละครชาตรี จึงมักเล่นถวายหน้าพระที่นั่งทุกครั้งที่เสด็จมาจนได้รับพระราชทานบริเวณ "หน้าพระลาน" เพื่อเป็นที่แสดงละครเป็นประจำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีผู้นำละครนอกมาประสมกับละครชาตรี เรียกว่า ละครเข้าเครื่อง หรือละครชาตรีเครื่องใหญ่ เป็นละครที่รวมศิลปะการร้อง และการรำเข้าด้วยกัน และได้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
การแข่งเรือยาว
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดเพชรบุรี นิยมเล่นกันตามวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งในวันแข่งเรือยาวจะเป็นวันเดียวกับที่เจ้าภาพนำผ้ากฐินทอด ณ วัดนั้น การแข่งเรือจะมีขึ้นในเวลาประมาณเที่ยง แข่งขันเป็นคู่ ๆ เรื่อยไป เรือยาวลำใดชนะก็จะได้รางวัล สมัยก่อนรางวัลไม่กำหนดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นผ้าแถบ ผ้าแพรสีต่าง ๆ โดยจะใช้ผูกหัวเรือหรือมอบกับฝีพายหญิงที่นั่งพายคู่อยู่ส่วนหัวเรือ ซึ่งจะมี 4 คู่ 5 คู่ หรือมากกว่านั้น หรืออาจเป็นผ้าขาวม้า ซึ่งนิยมมอบให้กับฝีพายผู้ชาย ซึ่งอาจมี 8 คู่ 10 คู่ นั่งอยู่ส่วนท้ายเรือ
เห่เรือบก
เป็นการดัดแปลงจากการเห่เรือน้ำซึ่งเป็นประเพณีดังเดิมของชาวเพชรบุรี การเห่เรือบกเริ่มมากว่า 20 ปี ต่อมาภายหลังจากสร้างเขื่อนเพชร ปิดกั้นแม่น้ำเพชรบุรีที่อำเภอท่ายางเป็นผลให้แม่น้ำเพชรบุรี แห้งขอดลง และส่วนตอนกลางแม่น้ำก็ตื้นเขิน ไม่เหมาะแก่การเห่เรือน้ำเหมือนในอดีต ผู้เคยเล่นเรือน้ำจึงคิดดัดแปลงลักษณะของการเห่เรือน้ำมาเล่นบนบก โดยเอาเนื้อร้องและทำนองมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับท่าทางของฝีพายขณะเดินเห่ ผู้เล่นมีทั้งหญิงและชายซึ่งเป็นทั้งฝีพายและลูกคู่ ส่วนเรือที่จำลองจะประดับประดาสวยงามมาก เนื้อความที่ใช้เห่เรือบกจะเริ่มด้วย บทไหว้ครู บทเกริ่น บทเกี้ยวพาราสี บทชมนกชมไม้ มีข้อสังเกตว่าไม่มีบทว่าโต้ตอบกัน ต้นเสียงจะเห่บทเพลงไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าสมควรแก่เวลาก็จะเห่บทอำลาและอวยพรให้ผู้ชม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น