วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติ จังหวัดเพชรบุรี

ประวัติ จังหวัดเพชรบุรี

ภาพที่แนบมาภาพที่แนบมาภาพที่แนบมา



ความเป็นมาของจังหวัดเพชรบุรี

ร่องรอยของผู้คนในอดีตในเขตจังหวัดเพชรบุรี ปรากฏหลักฐานในรูปของโบราณวัตถุ โบราณสถาน แหล่งที่อยู่อาศัยหลงเหลืออยู่ทั่วไปตั้งแต่ในช่วงที่เป็นชุมชน สมัยก่อนประวัติศาสตร์พบหลักฐานแถบภูเขาทางตะวันตกในเขตอำเภอท่ายาง จวบจนสังคมพัฒนาขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแบบทวารวดี ก็พบร่องรอยของชุมชนเหล่านี้ในหลายพื้นที่ เช่น กลุ่มผลิตรูปเคารพหนองปรง ในเขตอำเภอเขาย้อย กลุ่มบ้านหนองพระ เนินโพธิ์ใหญ่ เนินดินแดง วัดป่าแป้นในเขตอำเภอบ้านลาด กลุ่มเขากระจิว ในเขตอำเภอท่ายาง กลุ่มทุ่งเศรษฐี ในเขตอำเภอชะอำ แต่ในลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีก็ยังไม่พบหลักฐานของเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แบบเมืองทวารวดีที่ พบทั่วไปใน ลุ่มแม่น้ำสำคัญอื่น ๆ ในแถบภาคกลางของไทยแต่ก็พบหลักฐานโบราณวัตถุแบบทวารวดี คือธรรมจักรหินในบริเวณชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี


เพชรบุรีในวัฒนธรรมเขมรโบราณ

เมื่อชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรโบราณ ในช่วงเวลานี้น่าจะมีการพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง คงมีการสร้างเมืองในรูปแบบของวัฒนธรรมเขมรโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขึ้นที่ทางฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเพชรบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี) ผลจากการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศ (โดยผ่องศรี วนาสิน และทิวา ศุภจรรยา) พบว่าบริเวณเมืองเพชรบุรีมีร่องรอยของแนวคูเมืองและกำแพงเมือง ที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ใกล้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มากกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของแนวคูเมืองกำแพงเมืองแต่ละด้านกว่า 1 กิโลเมตร เมืองนี้ใช้แม่น้ำเพชรบุรีเป็นคูเมืองด้านทิศตะวันตก ลักษณะของผังเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอ เป็นเมืองที่มีอายุหลังสมัยทวารวดีมักพบมากในช่วงที่ได้รับอิทธิพล วัฒนธรรมเขมรโบราณลงมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าร่องรอยของแนวคูเมืองกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่นี้ เป็นร่องรอยของเมืองตั้งแต่ในช่วงที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร หลักฐานที่เป็นเครื่องสนับสนุนความเป็นบ้านเป็นเมืองในช่วงเวลานี้คือ โบราณสถานที่วัดกำแพงแลง อันได้แก่ปรางค์ศิลาแลง 5 องค์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและรูปเคารพที่ได้จากบริเวณนี้ล้วนมีอิทธิพล ศิลปเขมรโบราณแบบบายน ที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 และถ้าหากเชื่อว่าเมืองนี้คือหนึ่งในเมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาได้ทรงประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถไว้ เมืองนี้ก็คือเมือง ศรีชัยวัชรบุรี


เพชรบุรีในสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง จึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

เพชรบุรีในสมัยอยุธยาตอนต้น

เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถอำนาจใน ส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลางจึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม
ในสมัยพระมหาธรรมราชา ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมาพระยาละแวกได้ยกทัพมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง

เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้ กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง แข็งเมือง พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง


เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษบทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนัก จึงค่อยๆเปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรี ตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัดและพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน”
และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและ น้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์


ประเพณีจังหวัดเพรชบุรี

งานประเพณีไทยทรงดำ จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี งานประเพณีไทยทรงดำของชาวลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย เป็นประเพณีการทำบุญในงานจะมีการจัดการละเล่น และการทำอาหารแบบดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำ
งานประเพณีข้าวห่อกระเหรี่ยงจัดขึ้นเป็นประจำช่วงขึ้น14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี  เป็นงานประเพณีที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกระเหรี่ยง ซี่งยังคงอาศัยอยู่ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง
งานพระนครคีรี เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี โดย เฉพาะพระนครคีรีและมรดกศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มีสืบมาจนถึง ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่สิ่งดีงามต่าง ๆ ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่ง ขึ้น ทางจังหวัดจึงจัดงานพระนครคีรี-เมืองเพชร ขึ้นเป็นประจำ ในราว เดือนกุมภาพันธ์ กิจกรรมในงานได้แก่ ขบวนแห่พยุหยาตราบุรพกษัตริย์ที่เคยครองเมือง เพชรบุรีในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย นิทรรศการประวัติศาสตร์และ โบราณคดีเมืองเพชรบุรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สาธิตการปรุง อาหารคาวหวาน อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี การแสดงแสงเสียง ที่บริเวณพระนครคีรี การประกวดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟ ประกวดวัวงาม และ ประกวดผลไม้ การแข่งขันฟันอ้อย การเล่นวัวลาน การเห่เรือนก
การวิ่งวัวลานคนเป็นการแข่งขันที่ดัดแปลงมาจากกีฬาวัวลาน โดยใช้คนวิ่งแทนวัว มีกติกา เหมือนกันทุกประการ ไม่แต่เฉพาะชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น มีผู้คนท้อง ถิ่นต่างๆ เดินทางมาร่วมแข่งขันด้วยจึงเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และมี เพียงแห่งเดียวที่จังหวัดเพชรบุรี แต่มีกำหนดการเล่นที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่ กับว่าท้องที่ใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งบางครั้งก็จัดขึ้นในช่วงสงกรานต์
ประเพณีเล่นเพลงปรบไก่ขอฝนเป็นกาลละเล่นของชาวบ้านตำบลลาดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด เป็นการบวง สรวงศาลหลวงปู่เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โดยจะเล่นกันในวันเพ็ญเดือน 6 ลักษณะการเล่นเพลงปรบไก่นี้ จะมีพ่อเพลงแม่เพลงแต่งกายพื้นบ้านสีสดใส หลังจากพิธีกรรมต่าง ๆ รวมถึงการไหว้ครูแล้ว ทั้งฝ่ายชายและฝ่าย หญิงจะสลับกันร้องและร่ายรำอยู่กลางวง ท่าร่ายรำของฝ่ายชายปัดไปปัด มาคล้ายกับอาการป้อของไก่ตัวผู้ อาจเป็นเพราะลักษณะนี้จึงเรียกว่าเพลงปรบไก่ บทเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทเกี้ยวพาราสีกันและเล่นเป็นเรื่อง 2 เรื่องคือ ไกรทอง และสุวิญชา
ประเพณีวัวลานหรือวัวระดอก
การเล่นวัวลานมีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าวเพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลม วิธีการนวดข้าวนั้น วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามากเพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้น แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมาก ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่าจึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดี ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงคิดการเล่นวัวลานขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานประกวดว่าวัวของใครจะมีฝีเท้าและกำลังดีกว่ากัน และยังมีผลต่อการค้าขายวัวใช้งานอีกด้วยเพราะวัวที่ชนะการเล่นวัวลานจะมีผู้สนใจซื้อในราคาสูง
วัวเทียมเกวียน
เมืองเพชรบุรีได้จัดให้มีการประกวดวัวเทียมเกวียนขึ้นทุก ๆ ปี ในช่วงของการจัดงานพระนครคีรี - เมืองเพชร เพื่ออนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านและสืบทอดประเพณี ชาวบ้านนิยมนำวัวมาประกวดเพราะมีความหมายว่า วัวที่มีความสมบูรณ์จะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เป็นเจ้าของ ลักษณะการประกวดวัวเทียมเกวียนจะประกวดครั้งละ 1 คู่ กล่าวคือ วัวจำนวน 2 ตัวต่อเกวียน 1 เล่ม หรืออาจจะประกวดทั้งสองคู่ก็มี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเดินของวัวในระหว่างที่เดินประกวดจะมีเสาหลักปักไว้เป็นคู่ ๆ วัวเทียมเกวียนจะต้องเดินให้ครบ 3 รอบ และห้ามวัวเดินชนเสาหลัก ในระหว่างที่เดินอาจจะมีดนตรีบรรเลงเพื่อความสนุกสนานด้วย
ละครชาตรี
เป็นละครรำที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับวัฒนธรรมจากละครของอินเดีย เข้ามาสู่เมืองเพชรบุรี ตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีเพียงประวัติว่า หม่อมเมืองซึ่งเป็นหม่อมในรัชกาลที่ 5 เป็นคนเพชรบุรี ด้วยเป็น ผู้มีความสามารถในการละเล่นละครชาตรี จึงมักเล่นถวายหน้าพระที่นั่งทุกครั้งที่เสด็จมาจนได้รับพระราชทานบริเวณ "หน้าพระลาน" เพื่อเป็นที่แสดงละครเป็นประจำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีผู้นำละครนอกมาประสมกับละครชาตรี เรียกว่า ละครเข้าเครื่อง หรือละครชาตรีเครื่องใหญ่ เป็นละครที่รวมศิลปะการร้อง และการรำเข้าด้วยกัน และได้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
การแข่งเรือยาว
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดเพชรบุรี นิยมเล่นกันตามวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งในวันแข่งเรือยาวจะเป็นวันเดียวกับที่เจ้าภาพนำผ้ากฐินทอด ณ วัดนั้น การแข่งเรือจะมีขึ้นในเวลาประมาณเที่ยง แข่งขันเป็นคู่ ๆ เรื่อยไป เรือยาวลำใดชนะก็จะได้รางวัล สมัยก่อนรางวัลไม่กำหนดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นผ้าแถบ ผ้าแพรสีต่าง ๆ โดยจะใช้ผูกหัวเรือหรือมอบกับฝีพายหญิงที่นั่งพายคู่อยู่ส่วนหัวเรือ ซึ่งจะมี 4 คู่ 5 คู่ หรือมากกว่านั้น หรืออาจเป็นผ้าขาวม้า ซึ่งนิยมมอบให้กับฝีพายผู้ชาย ซึ่งอาจมี 8 คู่ 10 คู่ นั่งอยู่ส่วนท้ายเรือ
เห่เรือบก
เป็นการดัดแปลงจากการเห่เรือน้ำซึ่งเป็นประเพณีดังเดิมของชาวเพชรบุรี การเห่เรือบกเริ่มมากว่า 20 ปี ต่อมาภายหลังจากสร้างเขื่อนเพชร ปิดกั้นแม่น้ำเพชรบุรีที่อำเภอท่ายางเป็นผลให้แม่น้ำเพชรบุรี แห้งขอดลง และส่วนตอนกลางแม่น้ำก็ตื้นเขิน ไม่เหมาะแก่การเห่เรือน้ำเหมือนในอดีต ผู้เคยเล่นเรือน้ำจึงคิดดัดแปลงลักษณะของการเห่เรือน้ำมาเล่นบนบก โดยเอาเนื้อร้องและทำนองมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับท่าทางของฝีพายขณะเดินเห่ ผู้เล่นมีทั้งหญิงและชายซึ่งเป็นทั้งฝีพายและลูกคู่ ส่วนเรือที่จำลองจะประดับประดาสวยงามมาก เนื้อความที่ใช้เห่เรือบกจะเริ่มด้วย บทไหว้ครู บทเกริ่น บทเกี้ยวพาราสี บทชมนกชมไม้ มีข้อสังเกตว่าไม่มีบทว่าโต้ตอบกัน ต้นเสียงจะเห่บทเพลงไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าสมควรแก่เวลาก็จะเห่บทอำลาและอวยพรให้ผู้ชม

ที่พักจังหวัดเพรชบุรี

รวมที่พักใกล้เขาวัง ตัวเมือง จ.เพชรบุรี

แนะนำที่พัก ในตัวเมือง จ.เพชรบุรี (เขาวัง) เมลมาได้ที่ emagtravel[at]gmail.com โรงแรม รีสอร์ท เกสเฮ้าส์ ติดต่อมาได้ครับ ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางการท่องเที่ยวให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
รวมที่พักใกล้เขาวัง ในตัวเมือง จ.เพชรบุรี
เพชรบุรีเมืองท่องเที่ยวที่ใกล้กรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่ออย่าง เขาวัง (พระนครคีรี) โบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ลักษณะตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด พระราชวังบ้านปืน เคยเป็นที่ประทับแรมในฤดูฝนของรัชกาลที่ 5 สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรปมีความสวยงาม
ส่วนของฝากที่ขึ้นชื่อคือ ขนมหม้อแกงที่มีความอร่อย เมืองเก่าแห่งนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าชมอีกมากมาย จะเที่ยวแบบเช้าไปเย็น-กลับ หรือจะค้างคืน ก็สะดวกและค่าใช้จ่ายไม่แพง
โรงแรม ซัน
จำนวนห้องพัก 52 ห้อง 43/33 หมู่5 ต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพรชบุรี 76000 โทรศัพท์ : 032-400000, 085-832-8282
690 – 1,500 บาท
ธนัฐธิชาบุรี เลค รีสอร์ท แอนด์ สปา
จำนวนห้องพัก 82 ห้อง 165 หมู่ 5 หนองหญ้าปล้อง, เพชรบุรี, เพชรบุรี, ไทย โทรศัพท์ :032-494-202
1,800 – 3,600 บาท
น้ำตกกวางโจว เนเชอรัล เฮลท์ รีสอร์ท
จำนวนห้องพัก 10 ห้อง 199 Moo 4 Nhongyaphong District, เพชรบุรี, เพชรบุรี, ไทย
1,589 บาท
ดรีมดีเรซิเดนซ์
จำนวนห้องพัก 52 ห้อง 138 ตำบล ต้นมะม่วง อำเภอ เมือง, เพชรบุรี, เพชรบุรี, ไทย 76000
2,124 บาท
รอยัล ไดมอนด์
ห้องพักสะอาด กว้างขวาง อยู่ใกล้เขาวัง พนักงานบริการดี อาหารเช้ามีให้เลือกเยอะ จำนวนห้องพัก 57 ห้อง 555 ม.1 ถ.เพชรเกษม ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ : 032 411061-70

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาหราเมืองเพรช

1.ข้าวแช่แม่นิด (สะพานดำ) 
ข้าวสวยเม็ดงาม ใส่น้ำอบควันเทียนลอยด้วยดอกกระดังงาและดอกมะลิแล้วเติมน้ำแข็ง กินกับปลากระเบนผัดหวาน ลูกกะปิทอดและหัวไชโป๊วผัดหวาน อาหารคลายร้อนที่หากินได้ง่ายในเมืองเพชรบุรี
ที่ตั้ง: บริเวณสะพานดำ ถ.ราชวิถี อ.เมือง
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 - 15.00 น. ปิดทุกวันพุธ
โทร. 08 3159 5540

2.ขนมจีนทอดมัน คุณนุช

ปกติทั่วไปขนมจีนจะกินกับน้ำำพริก น้ำยาแกงเขียวหวาน มาเพชรบุรีทั้งทีต้องสั่งขนมจีนทอดมัน ที่กินขนมจีนกับทอดมันปลากรายที่ราดด้วยน้ำจิ้มรสเด็ด อาหารขึ้นชื่ออีกอย่างของเพชรบุรี
ที่ตั้ง: ตรงข้ามวัดข่อย ต.คลองกระแชง อ.เมือง
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 - 15.30 น.
โทร. 08 6623 5748
 3.ก๋วยเนื้อเตี๋ยวเจ๊ลั้ง

 
เมนูแนะนำของร้านนี้ คือ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ เกาเหลาเนื้อ เนื้อลวกจิ้ม เนื้อหม้อไฟ ที่ส่งกลิ่นหอมไปทั่วร้าน นอกจากนี้ยังมีก๋วยเตี๋ยวหมูและก๋วยเตี๋ยวไก่รสชาติอร่อย ให้เลือกชิมอีกด้วย
ที่ตั้ง: ใกล้ รร.วัดดอนไก่เตี้ยเก่า ถ.ดำเนินเกษม อ.เมือง
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 -17.30 น.
โทร. 08 1527 5323
 4.ก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง สาขาเคเบิ้ลคาร์

หน้าไม่งอ รอไม่นาน กับก๋วยเตี๋ยวร้านเจ๊กเม้ง ที่เสิร์ฟความอร่อยด้วยก๋วยเตี๋ยวเนื้อแบบฉบับเพชรบุรี พร้อมด้วยเมนูอร่อยอีกมากมายอย่างก๋วยเตี๋ยวหมู ไก่ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำำกุ้งน้ำข้นและเมนูอื่นๆ
ที่ตั้ง: ใกล้สถานีเคเบิ้ลคาร์ขึ้นเขาวัง อ.เมือง
เปิดทุกวัน เวลา 06.00 - 17.00 น.
โทร.08 9910 0099
 5.ลอดช่องน้ำตาลข้น (หน้าเขาวัง)

ความแตกต่างของลอดช่องสิงคโปร์ กับลอดช่องน้ำตาลข้นเมืองเพชรบุรี ที่มีเครื่องให้เลือกเยอะกว่า และใช้น้ำำตาลข้น (น้ำำตาลโตนดเคี่ยวกับกะทิจนข้น) รสชาติหวานหอม ราดแทนกะทิสด ได้สักแก้วคงชื่นใจ

8 สุดยอดที่เที่ยวฮอต! เมืองเพชรบุรี

 เพชรบุรีเมืองท่องเที่ยวใกล้กรุง ที่นอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังอย่างเขาวังและของฝากขึ้นชื่ออย่างขนมหม้อแกงเมืองเพชรแล้ว เมืองเก่าแห่งนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าชมอีกมาย จะเที่ยวแบบเช้าไปเย็น-กลับ หรือจะแวะค้างสักคืนก็สนุกไม่หยอก แล้วจะรู้ว่าเพชรบุรีก็มีทีเด็ดไม่แพ้จังหวัดไหนๆ
หาดชะอำ : แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังประจำเมืองเพชร เป็นชายหาดที่สวยงาม ถนนเลียบชายหาดทรายเรียงรายไปด้วยแนวต้นสน นักท่องเที่ยวมาแล้วสามารถเพลิดเพลินไปกับการเล่นน้ำทะเลใส ซื้อของกินในราคาไม่แพง ซึ่งจะมีพ่อค้าแม่ค้ามาหาบขายตลอดเวลา มีเตียงผ้าให้นั่งนอนเล่นยาวตลอดแนวชายหาดหาด เต็มไปด้วยที่พักมากมายหลายระดับให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้ ทั้งแบบราคาย่อมเยาว์ไปจนถึงที่พักหรูราคาแพง หรืออยากออกกำลังกายสนุกๆ ก็เช่าจักรยานปั่นกินลมชมวิวไปตามถนนเลียบชายหาดสามารถ หรือจะลองขี่ม้าที่มีคนนำมาไว้บริการก็ยังได้ คิดดูสิว่าจะสนุกแค่ไหน
เขาวัง : เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด กรมศิลปากรได้ใช้บางส่วนของพระราชวังบนยอดเขาด้านทิศตะวันตกนี้จัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริดและทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่าง ๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป (เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-3242-5600)
พระราชวังมฤคทายวัน : พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง เพชรบุรี หากคุณเป็นคนที่ชอบท่องเที่ยวชมสถานที่สวยงามเชิงประวัติศาสตร์ ขอแนะนำพระราชวังที่มีสีหวานที่สุด และมีจักรยานให้เช่าขี่ชมรอบๆ ท่ามกลางบรรยากาศริมทะเลที่แสนเย็นสบาย (เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 -16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ เวลา 08.30-16.00 น. ปิดวันพุธ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท รับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทร. 0-3250-8039)
พระราชวังบ้านปืน : พระรามราชนิเวศน์ หรือ "พระราชวังบ้านปืน" ร.5 ได้มีความประสงค์ให้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นพระราชนิเวศน์สำหรับประทับแรมในฤดูฝน เป็นพระราชวังที่มีรูปแบบเป็นตะวันตกและตามความนิยมของประเทศเยอรมันในช่วงเวลานั้น เรียกกันว่าแบบบาโร้คและแบบอาร์ตนูโว ซึ่งแต่ละมุมของพระราชวังได้ตกแต่งประดับประดาด้วยความพิถีพิถันและปราณีตมากๆ (เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ 5 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรบรรยาย สามารถทำหนังสือถึงผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี ค่ายรามราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 โทร. 0-3242-8506-10 ต่อ 259)
วัดใหญ่สุวรรณาราม : วัดนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะในสมัยร. 5 ภายในวัดมีศาลาการเปรียญเป็นพระตำหนักไม้สักทั้งหลังที่พระเจ้าเสือแห่งกรุง ศรีอยุธยา พระราชทานแด่พระสังฆราชชาวเพชรบุรี ศาลาการเปรียญในวัดนี้ มีลักษณะที่โดดเด่นจากงานแกะสลักไม้ที่สวยงาม โดยเฉพาะบานประตูสลักลายก้านขดปิดทอง และยังมีธรรมาสน์เทศน์ซึ่งแกะสลักลงรักปิดทอง รูปทรงเป็นบุษบกที่งดงามและสมบูรณ์ บนผนังภายในพระอุโบสถ มีภาพเขียนเทพชุมนุม อายุกว่า 300 ปี (เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันทำการ เวลา 08.00 น. - 16.00 น. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-3241-2714)
วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร : วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบุรีที่มีความเก่าแก่ มีอายุมากกว่า 800 -1,000ปีมาแล้ว วัดแห่งนี้เป็นเหมือนศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองเพชรบุรี มีความโดดเด่นขององค์พระปรางค์ 5 ยอด ที่ตั้งตระหง่านดุจร่มโพธิ์ร่มไทร มองเห็นได้จากทั่วทุกสารทิศ มีทั้งความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และคุณค่าสำคัญทางจิตใจของชาวเมืองเพชรบุรี เป็นศูนย์รวมศรัทธาของผู้คนมาหลายยุคหลายสมัย (เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันทำการ เวลา 08.00 น. - 16.00 น.)
หาดเจ้าสำราญ : เป็นชายหาดที่เคยเป็น สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากสมัยโบราณ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับ แรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาสมัยร. 6 หาดเจ้าสำราญมีชื่อเสียงกว่าชายทะเลแห่งใด ๆ ในเมืองไทยสมัยนั้น ร.6 โปรดฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้น ณ ริมหาดแห่งนี้เรียกว่า พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ ต่อมารื้อไปสร้างใหม่ที่มฤคทายวัน ปัจจุบันมีร้านอาหารและรีสอร์ทริมทะเลหลายแห่ง (เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 น. - 18.00 น. ไม่เสียค่าเที่ยวชม)
อช. แก่งกระจาน: ด้วยความเขียวชะอุ่มของผืนป่าบวกกับความสดชื่นของอากาศบริสุทธิ์เย็นฉ่ำยาวนานตลอดปี ไม่น่าเปลกใจที่แก่งกระจานกลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของนักเดินทางที่ต้องการมาพักกายและพักใจในอ้อมกอดของขุนเขา มาแล้วต้องไม่พลาดไปชมอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ชมวิวขุนเขาสุดสายตา ล่องเรือชมทะเลสาบน้ำจืดเหนือเขื่อนแก่งกระจาน หรือจะขึ้นไปชมทะเลหมอก เขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีจุดกางเต๊นท์พักแรมที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (พะเนินทุ่ง) ในวันที่อากาศสบายๆ อาจได้ชมผีเสื้อแสนสวยและนกเงือกบินอยู่เหนือทะเลหมอกและขุนเขาก็ได้
ห้่ามพลาด: มาเพชรบุรีทั้งที ของฝากที่ใครๆ ก็ต้องนึกถึง นี่เลย ขนมหม้อแกง ที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรไม่มีหอมเจียวโรยหน้า ถาดละ 35-40 บาท / ของทะเลแห้ง มีทั้งหอยเสียบแห้ง หอยแมลงภู่แห้ง ปลาหมึกแห้ง หรือกะปิแท้ / น้ำตาลสด ต้มสดๆ ใหม่ๆ ยิ่งแช่เย็นยิ่งเก็บได้หลายวัน ขวดละ 35 บาท / ลูกตาลสด ถุงละ 40 บาท
การเดินทาง :
- รถยนต์ : จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปเพชรบุรีได้สะดวกหลายเส้นทาง
1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2 หรือธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านนครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 166 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
รถโดยสารประจำทาง : มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เพชรบุรี ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th (ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com)
- รถไฟ : การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีรถไฟธนบุรี ไปยังจังหวัดเพชรบุรีทุกวัน ทั้งรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.5-3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางและราคาตั๋วโดยสารของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย โทร.1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th และจองตั๋วรถไฟก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 3 วัน โทร. 0-2220-4444 ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.